top of page

เอกภพและวัตถุท้องฟ้า


1. เนบิวลา

เนบิวลาเป็นแก๊สหรือฝุ่นที่ปรากฏอยู่ในช่องว่างระหว่างดาวฤกษ์ แก๊สหรือฝุ่นที่อยู่ระหว่างดาว

บริเวณใกล้เคียงกันจะยึดเหนียวกันด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงแล้วกลายเป็นดาวฤกษ์ต่อไปเนบิวลา

หลายแห่งจึงเป็นต้นกําเนิดของดาวฤกษ์ แต่ก็มีเนบิวลาจํานวนหนึ่งที่เกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาด

ใหญ่ แก๊ส และฝุ่นจะกระจายออกจากกันและอาจแผ่กระจายไปรวมกับแก๊สหรือฝุ่นแห่งอื่นกลายเป็นดาว

ฤกษ์รุ่นใหม่ เนบิวลามี 2 ชนิดคือ เนบิวลาสว่างและเนบิวลามืด เนบิวลาสว่างยังถูกแบ่งออกเป็นสอง

ประเภทคือ เนบิวลาสว่างสะท้อนแสงและเนบิวลาสว่างเรืองแสง วัตถุที่สะท้อนแสงในเนบิวลาส่วนมากจะ

เป็นฝุ่น ส่วนแก๊สบางอย่างก็จะเรืองแสงได้ เนบิวลามืดเป็นแก๊สและฝุ่นที่บัง และดูดแสงดาวฤกษ์ที่อยู่

เบื้องหลัง เนบิวลาต่าง ๆ ที่น่าสนใจมีดังนี้

<1.1> เนบิวลาสว่างใหญ่ (Great Nebula)

เป็นเนบิวลาประเภทเรื่องแสงมี ไรท์แอสเซนชัน 5.33 ชั่วโมง เดคลิเนชัน 5.41 องศา มีชื่อ

ตามระบบของเมสสิแอร์ว่า M42 อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน บริเวณดาบของนายพราน เป็นเนบิวลาขนาด

ใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20,000 เท่าของระบบสุริยะ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,500 ปีแสง

ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน ฮีเลียม และมวลสารอื่น ๆ ที่จะก่อเกิดดาวฤกษ์ลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ได้

อย่างน้อย 10,000 ดวง เมื่อมองจากกล้องโทรทรรศน์จะเห็นเป็นกลุ่มแก๊สเรืองแสงสวยงาม และในคืนเดือน

มืดที่ท้องฟ้าแจ่มใสสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่ามีลักษณะเป็นปุยฝ้าย

<1.2> เนบิวลารูปหัวม้า

เป็นเนบิวลามืดอยู่ในกลุ่มดาวนายพรานใกล้กับดาวไถดวงใต้ มีไรท์แอสเซนชัน 5.68

ชั่วโมง เดคลิเนชัน -2.40 องศา มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากโลก 1500 ปีแสงเป็นแก๊ส และฝุ่นที่บัง

และดูดกลืนแสงดาวฤกษ์ที่อยู่เบื้องหลัง สัญญลักษณ์ของเนบิวลารูปหัวม้าคือ IC 434

<1.3> เนบิวลาปู

เป็นซากที่เหลือจากการระเบิดของซูเปอร์โนวาที่สังเกตเห็นในปี ค.ศ. 1054 โดยนักดารา

ศาสตร์จีน อยู่ในกลุ่มดาววัว ต่อมาในปี 1758 Charles Messier ได้ค้นพบเนบิวลานี้ในขณะที่เขาค้นหา

ดาวหาง แต่สิ่งที่เขาพบมันไม่คล้ายกับดาวหางเพราะมันไม่เคลื่อนที่ เขาก็เลยได้สร้างแคตาล็อกวัตถุ

ท้องฟ้าขึ้นมา และใส่เลขประจําเนบิวลานี้เป็น M 1

<1.4> เนบิวลาดอกกุหลาบ

เป็นเนบิวลาสว่างประเภทเรืองแสง มีไรท์แอสเซนชัน 6.5 ชั่วโมง เดคลิเนชัน +5.03 องศา

อยู่ในกลุ่มดาว ม้ามีเขา (Monoceros) ห่างจากโลก 3000 ปีแสง มีชื่อในระบบเดรเยอร์เป็น NGC 2237

<1.5> เนบิวลา 3 แฉก (Trifid Nebula)

เป็นเนบิวลาสว่างประเภทสะท้อนแสง และ เรืองแสง มีไรท์แอสเซนชัน 18.03 ชั่วโมง

เดคลิเนชัน -23.03 องศา อยู่ในกลุ่มดาว คนยิงธนูห่างจากโลก 2000 ปีแสง ส่วนที่เรืองแสงคือส่วนที่มีสี

แดง ส่วนที่เป็นสีนํ้าเงินคือ คือส่วนที่สะท้อนแสง

2. ดาวฤกษ์ (The Stars)

หากเรามองขึ้นไปในท้องฟ้าด้วยตาเปล่ายามคํ่าคืนที่เดือนมืดสนิทและท้องฟ้าปลอดโปร่งเรา

สามารถมองเห็นดาวจํานวนมากมายนับพันดวง ดาวที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็น

ดาวฤกษ์ที่มีความสว่างไม่เท่ากัน การกระจายของดาวไม่สมํ่าเสมอ นอกจากนี้แล้วยังเห็นหมอกชึ่งเป็นแถบ

ของแสงที่มีความสว่างไม่สมํ่าเสมอพาดตามแนวเหนือใต้ของท้องฟ้า แถบหมอกของแสงที่พาดผ่านท้องฟ้า

ที่เรามองเห็นนี้เรียกว่าทางช้างเผือก (Milky way) หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กหรือกล้องสองตาเราก็

สามารถจะเห็นได้ว่าแถบหมอกดังกล่าวแท้จริงแล้วคือกลุ่มของดาวต่างๆจํานวนมหาศาล มันเป็นส่วนหนึ่ง

ของกาแล็กซี (Galaxy) ขนาดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยดวงดาวมากมายประมาณถึง 1011ดวง ซึ่งเกาะกลุ่ม

กันด้วยสาเหตุจากแรงโน้มถ่วง ดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าในทิศทางใดๆนั้นส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของ

กาแล็กซีทางช้างเผือกและอยู่ใกล้โลกมากพอที่ตาเราสามารถจําแนกหรือมองเห็นเป็นดาวเดี่ยวได้

3. กาแล็กซีทางช้างเผือก

กาแล็กซีของเราหรือกาแล็กซีทางช้างเผือก ประกอบด้วยดาวฤกษ์ประมาณหนึ่งแสนล้านดวง

ดึงดูดซึ่งกันและกัน ทําให้อยู่ในระบบเดียวกันได้ มีความหนาประมาณ 10,000 ปีแสง และมีเส้นผ่าน

ศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง ส่วนดวงอาทิตย์ของเรา อยู่ที่แขนของกาแล็กซี ห่างจากใจกลาง

ประมาณ 30,000 ปีแสง มีมวล 4×1011 เท่า ของมวลดวงอาทิตย์

4. กาแล็กซี

กาแล็กซี คือ ที่รวมของดาว กระจุกดาว เนบิวลา ฝุ่น แก๊ส และที่ว่าง โดยจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป

กาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่นี้เรียกว่า กาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) ในปี พ.ศ. 2152 กาลิเลโอ ได้สํารวจ

ท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์ แล้วพบว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกประกอบด้วยดาวจํานวนมากมาย ปรากฎ

อยู่ใกล้กันจนไม่สามารถมองให้แยกออกจากกันได้ ภายหลังได้มีการศึกษาพบบริเวณสว่างของแก๊ส และ

ฝุ่นในอวกาศ และบริเวณที่มืดซึ่งบังแสงสว่างของดาวอื่น จะเรียกบริเวณนั้นว่า เนบิวลาสว่างและเนบิวลา

มืดตามลําดับ กาแล็กซีจะมีดาวกว่าแสนล้านดวง และแก๊ส ฝุ่น สสารที่มากพอจะให้กําเนิดดาวได้หลายพันล้าน

ดวง และในเอกภพนี้มีกาแล็กซีมากเสียจนไม่อาจประมาณได้อย่างชัดเจน แต่จากการเฝ้าติดตามด้วย

กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่คาดไว้ว่าน่าจะมีมากกว่า 100,000,000,000 กาแล็กซี (แสนล้าน) และอาจจะมี

ในส่วนที่ยังไม่เห็นด้วยกล้องอีกบางทีอาจจะมากกว่า ล้านล้านกาแล็กซีก็เป็นได้จากการศึกษาของนักดาราศาสตร์ยังพบอีกว่าดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะไม่ได้หยุดนิ่งแต่กําลังเคลื่อนที่รอบศูนย์กลางกาแล็กซีครบรอบในเวลา 250 ล้านปี ด้วยวงโคจรที่เกือบเป็นวงกลม ดังนั้นจึงคาดกันว่ากาแล็กซีของเราไม่ได้หยุดนิ่ง แต่กําลังหมุนรอบตัวเองโดยสังเกตจากรูปร่าง

5. เอกภพ

เอกภพ (Universe) เป็นระบบรวมของกาแล็กซีที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก เชื่อกันว่าใน

เอกภพมีกาแล็กซีรวมอยู่ประมาณแสนล้านกาแล็กซี ในแต่ละกาแล็กซีจะประกอบด้วยระบบของดาวฤกษ์

กระจุกดาว เนบิวลา ฝุ่นธุลีคอสมิก แก๊ส และที่ว่างรวมกันอยู่


Recent Posts

Follow Us

  • Black Facebook Icon
  • Black Twitter Icon
  • Black LinkedIn Icon
  • Black Instagram Icon
  • Black YouTube Icon
bottom of page